กันดูด 3 เฟส ผลิตภัณฑ์ป้องกันไฟดูด-ไฟรั่ว (RCD-ELCB) ต้อง ชไนเดอร์ อิเล็คทริค


กันดูด 3 เฟส หรือเบรกเกอร์กันดูด (Residual Current Device - RCD) คืออุปกรณ์ที่นิยมใช้กันในอาคารพาณิชย์และตามโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อป้องกันไฟดูดและไฟรั่วที่เกิดขึ้นจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจรและกระแสไฟฟ้าเกิน (Overload) ซึ่งผลิตภัณฑ์ป้องกันไฟดูด 3 เฟส นั้นแตกต่างจากการติดตั้งเบรกเกอร์กันดูดกับระบบไฟฟ้าแบบ 1 เฟสธรรมดาที่เราใช้กันในบ้านพักอาศัย กันดูด 3 เฟสคืออะไร มีหลักการทำงานอย่างไร ไปหาคำตอบได้จากบทความนี้ 

กันดูด 3 เฟส คือ

ก่อนที่เราจะไปเจาะลึกเรื่องกันดูด 3 เฟส เรามาทำความรู้จักกับอุปกรณ์ชนิดนี้กันก่อน เบรกเกอร์ป้องกันการดูดหรือป้องกันการดูด 3 เฟส หรือที่รู้จักกันในชื่อ Residual Current Device (RCD) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ป้องกันไฟฟ้าขัดข้อง และลดความเสี่ยงจากไฟฟ้าช็อต ที่โดยทั่วไปจะใช้ในระบบไฟฟ้าแบบสามเฟส RCD ทำงานโดยจะตรวจสอบการไหลของกระแสไฟฟ้าในตัวนำที่มีไฟฟ้าและเป็นกลางอย่างต่อเนื่อง หากมีความไม่สมดุลในการไหลของกระแสไฟ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้เนื่องจากความผิดปกติหรือการรั่วไหลลงดิน RCD จะตรวจจับความผิดปกตินี้ได้อย่างรวดเร็ว และจะทำการตัดวงจรในทันที การทำเช่นนี้จะช่วยป้องกันการเกิดไฟฟ้าช็อตและลดความเสี่ยงของการเกิดเพลิงไหม้จากไฟฟ้าขัดข้องได้ 

เพื่อป้องกันอันตรายจากไฟรั่วไฟดูด เบรกเกอร์กันดูด หรือกันดูด 3 เฟสจึงเป็นโซลูชันของระบบไฟฟ้าในโรงงาน ซึ่ง RCD (Residual Current Device) หรือเบรกเกอร์กันไฟดูดนี้ช่วยป้องกันไฟรั่วไฟดูดทำหน้าที่ตัดกระแสไฟฟ้าเมื่อตรวจพบความผิดปกติในวงจรไฟฟ้า โดยเบรกเกอร์กันไฟดูดจะมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน คือ

  • RCCB (Residual Current Circuit Breaker) เบรกเกอร์กันไฟดูดที่มักนิยมติดตั้งคู่กับเซอร์กิตเบรกเกอร์ เนื่องจากไม่สามารถป้องกันกระแสลัดวงจรได้ และมีหลักการทำงานแบบ VI

  • RCBO (Residual Current Circuit Breaker with Overcurrent Protection) ทำงานเหมือนกับแบบ RCCB แต่สามารถป้องกันกระแสเกินและกระแสลัดวงจรได้ด้วย โดยส่วนใหญ่จะมีหลักการทำงานแบบ VD

หลักการทำงานของเบรกเกอร์ กันดูด 3 เฟส 

หลังจากรู้จักกับกันดูด 3 เฟสกันไปแล้ว มาดูกันต่อว่ามีหลักการทำงานอย่างไร ที่จริงแล้วการทำงานของเบรกเกอร์ป้องกันไฟดูด 3 เฟสนั้นไม่ซับซ้อนอย่างที่คิด กล่าวคือระบบจะทำหน้าที่วัดกระแสไฟเข้า และกระแสไฟออกว่าเท่ากันหรือไม่ หากกระแสไฟฟ้าไม่เท่ากับค่าที่กำหนดไว้ตามสเปคของอุปกรณ์ เบรกเกอร์กันดูดก็จะทำหน้าที่ตัดวงจรไฟฟ้าในทันที เช่น หากเราใช้เบรกเกอร์กันดูด RCCB 40A - 30mA หมายความว่าปริมาณกระแสไฟฟ้าที่จะผ่านในวงจรนี้ไม่ควรมีค่าเกิน 40A และมีกระแสไฟฟ้าไฟเข้า-ออกต่างกันได้ไม่เกิน 30mA ซึ่งถ้าหากห่างต่างกันเกิน 30 mA ก็จะตัดวงจรทันทีนั่นเอง

ข้อดีของการติดตั้ง เบรกเกอร์ป้องกันการดูด 3 เฟส 

แน่นอนว่าการติดตั้งเบรกเกอร์ป้องกันการดูด 3 เฟสนั้นให้ประโยชน์อย่างมาก ทั้งในด้านการป้องกันอุบัติเหตุและเพิ่มความปลอดภัยทางไฟฟ้าภายในโรงงาน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อคนงานหรือผู้ใช้บริการได้ ไฟฟ้าช็อตอาจเกิดขึ้นได้หากร่างกายสัมผัสกับส่วนประกอบใดๆ ของอุปกรณ์ที่ประสบปัญหาไฟฟ้ารั่วหรือสายไฟผิดพลาด การรั่วไหลเหล่านี้อาจเกิดจากปัจจัยต่างๆ เช่น อุปกรณ์ไฟฟ้าเสียหายหรือเสื่อมสภาพ การเดินสายไฟที่ไม่ได้มาตรฐาน การขาดการบำรุงรักษา หรือการใช้อุปกรณ์ที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องติดตั้งเบรกเกอร์ 3 เฟสเพื่อลดปัญหาเหล่านี

ข้อควรระวังในการติดตั้ง เบรกเกอร์ กันดูด 3 เฟส 

ในการเลือกซื้อและติดตั้งเบรกเกอร์กันดูดให้เหมาะสมกับการใช้งาน เราจำเป็นจะต้องคำนึงถึง 2 ปัจจัยด้วยกัน นั่นคือจำนวน Pole และค่าพิกัดกระแส ซึ่งจำนวน Pole จะเป็นตัวกำหนดว่าเบรกเกอร์ที่เราใช้นั้นเป็นชนิด 1 เฟส หรือ 3 เฟส โดยจำนวน Pole จะมีตั้งแต่ 1-4 Pole ด้วยกัน สำหรับอาคารพาณิชย์และโรงงานอุตสาหกรรม มักจะนิยมใช้เบรกเกอร์ 3 Pole ที่เป็นเบรกเกอร์สำหรับไฟฟ้าระบบ 3 เฟสนั่นเอง 

นอกจากนี้ในการติดตั้งกันดูด 3 เฟส มีข้อควรระวังอื่นๆ อีก ดังนี้ 

  • ต้องติดตั้งร่วมกับกับสายดิน เนื่องจากหากไม่มีสายดิน เมื่อเกิดไฟรั่วผู้ไปสัมผัสจะรู้สึกเหมือนถูกไฟดูดก่อนที่ RCD จะตัดวงจร ซึ่งถ้าหาก RCD ไม่ทำงาน ก็จะเป็นอันตรายได้

  • ห้ามต่อวงจรลัดคร่อมผ่าน RCD หรือหากเป็น RCD ที่ปรับตั้งค่าได้ และมีย่าน Direct หรือ By pass ห้ามตั้งค่าที่ย่านดังกล่าว เนื่องจากในสภาวะนี้หากมีกระแสรั่ว RCD จะไม่ทำงาน เพราะไม่สามารถจับกระแสไฟรั่วได้

  • ตำแหน่งในการต่อสายดินลงดินจะต้องอยู่ก่อนด้านไฟเข้าของ RCD

ผลิตภัณฑ์ป้องกันไฟดูด-ไฟรั่ว (RCD-ELCB) ของชไนเดอร์ มีกี่แบบ

ที่ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เราเป็นผู้นำด้านอุปกรณ์ไฟฟ้าที่รวมไปถึง อุปกรณ์กันดูดด้วยเช่นกัน ที่เรามีอุปกรณ์หลากหลายรุ่นที่ครอบคลุมทุกความต้องการใช้งาน โดยประกอบไปด้วยรุ่นเหล่านี้

แบบขนาด 1 โพล ชนิดลูกย่อยของตู้คอนซูมเมอร์ยูนิตหรือโหลดเซนเตอร์ รุ่น QOvsRCBO

กันดูด QOvsRCBO ประกอบไปด้วยเมนเบรกเกอร์ป้องกันไฟดูด ตรงตามมาตรฐาน IEC 61009 และ มอก.909-2548 พิกัด ทนกระแสลัดวงจร 10 kA 240/415 V ac สามารถใช้ติดตั้งกับตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต ระบบ Plug on ได้เพียงเท่านั้น ให้ความป้องกันเฉพาะจุด และมีความสามารถในการตัดวงจรได้ภายใน 0.04 วินาที รวดเร็ว และปลอดภัยสูงสุด

บบขนาด 2 โพล ชนิดเมนของตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต รุ่น QO-MBGX และ QOvsRCBO 

อุปกรณ์กันดูดแบบขนาด 2 โพล รุ่น QO-MBGX ตรงตามมาตรฐาน IEC 61009 และ มอก. 909-2548 ชนิด 2 Pole พิกัดทนกระแสลัดวงจร (IC)10kA, 240Volts(AC) อย่างไรก็ตาม QO-MBGX หรือ Main Breaker RCBO 2 Pole เป็นสินค้าที่เลิกจำหน่ายแล้ว หากต้องการใช้งาน main breaker RCBO สำหรับ consumer unit ให้พิจารณารุ่น QOvsRCBO 2Pole แทน เนื่องจากสามารถใช้งานได้เช่นเดียวกัน

หากกำลังมองหาเบรกเกอร์กันดูด ชไนเดอร์ อิเล็คทริค มีให้เลือกอย่างครบครัน ติดต่อเราเพื่อคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญได้แล้ววันนี้

ติดตามเรื่องราวดีๆ จาก ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้ที่

เว็บไซต์: www.se.com

Facebook: Schneider Electric

Instagram: schneiderelectric_th

LinkedIn: Schneider Electric

Lazada: Schneider Electric

Shopee: Schneider Electric official

LINE Official: ชไนเดอร์ อิเล็คทริค




Comments

Popular posts from this blog

ตู้ RMU หรือ Ring Main Unit คืออะไร?

โซลินอยด์วาล์ว อุปกรณ์สำคัญในระบบควบคุมการไหลของของเหลวและก๊าซ

ไทม์มิ่งพูลเล่ย์ (มู่เลย์) สายพานคืออะไร? มีกี่ประเภท?