Undervoltage Release คืออะไร แตกต่างจาก Shunt release อย่างไร
Undervoltage Release เป็นอุปกรณ์อีกหนึ่งชิ้นที่สำคัญในระบบไฟฟ้าในปัจจุบัน เพราะในโลกที่ไฟฟ้าเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันทั้งในภาคครัวเรือนและอุตสาหกรรม การป้องกันระบบไฟฟ้าจากปัญหาหรืออันตรายต่างๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก และหนึ่งในปัญหาที่มักถูกมองข้ามคือสถานการณ์ที่แรงดันไฟฟ้าลดต่ำลงอย่างรุนแรง หรือที่เราเรียกว่า "Under Voltage" ซึ่งสามารถทำให้เกิดความเสียหายทั้งต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าและระบบไฟฟ้าโดยรวมได้
บทความนี้ เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ "Undervoltage Release (UVR)" เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ช่วยป้องกันระบบไฟฟ้าจาก Under Voltage อุปกรณ์ชนิดนี้คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร ติดตามได้ในบทความนี้
Under Voltage Release คืออะไร
Undervoltage Release (UVR) คืออุปกรณ์เสริมที่ใช้ร่วมกับเซอร์กิตเบรกเกอร์ (circuit breaker) ที่ใช้ป้องกันระบบไฟฟ้าจากสถานการณ์แรงดันไฟฟ้าต่ำกว่าปกติ หรือที่เรียกว่า "Under Voltage" ซึ่งเป็นการตัดวงจรไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ เมื่อระบบตรวจจับได้ว่าแรงดันไฟฟ้าลดลงต่ำกว่าระดับที่กำหนดไว้ เพื่อป้องกันความเสียหายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าและระบบไฟฟ้าโดยรวมนั่นเอง
ประโยชน์และความสำคัญของ UVR ในระบบไฟฟ้า
ประโยชน์และความสำคัญของ UVR ในระบบไฟฟ้านั้นมีหลายประการ เพราะเป็นส่วนสำคัญในการรักษาระบบไฟฟ้าให้มีความปลอดภัยและมีความเสถียร โดยมีประโยชน์ดังต่อไปนี้:
ป้องกันความเสียหายจากแรงดันไฟฟ้าต่ำ: UVR ทำหน้าที่ตัดวงจรไฟฟ้าเมื่อแรงดันไฟฟ้าลดลงต่ำกว่าระดับที่กำหนด เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ไฟฟ้าจากสถานการณ์แรงดันไฟฟ้าต่ำ
เพิ่มความน่าเชื่อถือของระบบไฟฟ้า: การใช้ UVR จะช่วยให้ระบบไฟฟ้ามีความน่าเชื่อถือมากขึ้น โดยป้องกันการทำงานที่ไม่ปกติของอุปกรณ์ไฟฟ้าเนื่องจากสภาพแรงดันต่ำ
ป้องกันการเกิดไฟไหม้และอุบัติเหตุอื่นๆ: ในบางกรณี แรงดันไฟฟ้าที่ลดต่ำลงอาจทำให้เกิดความร้อนสูงในอุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งสามารถนำไปสู่การเกิดไฟไหม้ได้
ป้องกันระบบไฟฟ้าโดยรวม: UVR ช่วยในการรักษาความเสถียรของระบบไฟฟ้าโดยรวม โดยจะหยุดการทำงานของวงจรที่อาจได้รับผลกระทบจากปัญหาแรงดันไฟฟ้าต่ำทันที
ช่วยยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ไฟฟ้า: การป้องกันความเสียหายที่เกิดจากแรงดันต่ำช่วยให้อุปกรณ์ไฟฟ้ามีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น
มีหลักการทำงานอย่างไร
UVR ทำงานโดยการตรวจสอบระดับแรงดันไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง หากแรงดันไฟฟ้าลดลงต่ำกว่าค่าที่ตั้งไว้ (threshold) อุปกรณ์นี้จะส่งสัญญาณให้เซอร์กิตเบรกเกอร์ตัดการเชื่อมต่อกับวงจรไฟฟ้า เพื่อป้องกันความเสียหายตามที่ได้กล่าวไปข้างต้นนั่นเอง
Undervoltage Release และ Shunt release ต่างกันอย่างไร
เมื่อได้รู้จักกับ Undervoltage Release กันไปแล้ว ในวงการช่างไฟฟ้า อาจมีอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่คล้ายๆ กันอยู่บ้าง อย่างเช่น Shunt Release เป็นต้น ซึ่งหลายท่านก็อาจสงสัยว่าอุปกรณ์ทั้งสองชนิดนี้แตกต่างกันอย่างไร เราไปดูกันต่อเลย
Undervoltage Release
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สั่งให้ circuit breaker เปิดวงจร (open circuit) จากคำสั่งภายนอก เช่น phase protection สวิตช์ปุ่มกด และอื่นๆ โดยจะมีการทำงานเมื่อไม่มีพลังงานไฟฟ้าจ่ายให้ หรือเมื่อแรงดันไฟฟ้าลดลงต่ำกว่าค่าที่กำหนด
Shunt release
ตามที่ได้กล่าวไป Under Voltage release ทำหน้าที่ตัดวงจรไฟฟ้าออกเมื่อเกิดเหตุการณ์แรงดันไฟฟ้าลดต่ำลง มาดูกันต่อเลยว่า Shunt Release ทำงานอย่างไร Shunt Release คืออุปกรณ์เสริมของเซอร์กิตเบรกเกอร์เช่นเดียวกัน แต่มีหลักการทำงานที่แตกต่าง นั่นคือ Shunt Release จะทำการตัดการเชื่อมต่อของเซอร์กิตเบรกเกอร์จากวงจรไฟฟ้าทันทีเมื่อได้รับสัญญาณภาวะแรงดันผิดปกติในระบบไฟฟ้าจากอุปกรณ์อื่นๆ ภายนอก เช่น สัญญาณควบคุม หรือสัญญาณฉุกเฉิน โดยจะเห็นได้ว่า อุปกรณ์ชนิดนี้ไม่ได้ตอบสนองต่อสภาวะแรงดันไฟฟ้าโดยตรง แต่จะจะทำงานเมื่อได้รับพลังงานไฟฟ้าจากภายนอก เช่น การกดปุ่มหรือจากสัญญาณควบคุม
แนะนำ MCCB เซอร์กิตเบรกเกอร์ คุณภาพจากชไนเดอร์ อิเล็คทริค
เบรกเกอร์ MCCB หรือ Molded Case Circuit Breaker คือ เบรกเกอร์ชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่เหมือนกับเบรกเกอร์ชนิดอื่นๆ ทั่วไป นั่นคือเปิด-ปิดวงจรไฟฟ้า รวมถึงตัดกระแสไฟฟ้าเมื่อตรวจพบไฟรั่ว ไฟเกิน และไฟฟ้าลัดวงจร โดย Circuit Breaker ประเภทนี้จะใช้กับกระแสไฟฟ้าได้ตั้งแต่ 100-2,300A และมีแรงดันไม่เกิน 1,000 โวลต์ อีกทั้งยังมีคุณสมบัติทนกระแสลัดวงจร และรองรับกระแสที่สูงกว่าเบรกเกอร์ลูกย่อย หรือ MCB เบรกเกอร์ MCCB จึงนิยมใช้กันตามอาคารที่มีขนาดใหญ่หรือในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ตามที่ได้เกริ่นไปแล้วข้างต้น และจะถูกติดตั้งไว้ในตู้โหลดเซนเตอร์นั่นเอง
แน่นอนว่า Circuit Breaker แบบ MCCB จาก ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นั้นมีให้เลือกหลากหลายรุ่นตามความต้องการ เบรกเกอร์ MCCB ของเรา ถูกออกแบบมาโดยผู้เชี่ยวชาญ ที่จะทำหน้าที่ตัดวงจรไฟฟ้าได้อย่างอัตโนมัติ อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพในการทำงานสูงและมีความน่าเชื่อถือ ทำให้สามารถป้องกันระบบไฟฟ้าในกรณีที่เกิดการโหลดเกินหรือลัดวงจรได้อย่างดีเยี่ยม
ยกตัวอย่างเช่น EasyPact EZS circuit breaker จากชไนเดอร์ อิเล็คทริค คือเบรกเกอร์ MCCB รุ่นล่าสุด ที่มีคุณสมบัติใช้งานง่ายไม่ซับซ้อนและมีขนาดเล็ก ทำให้ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง เหมาะสำหรับการใช้งานในอาคารขนาดเล็กทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น อพาร์ตเม้นต์ หอพัก โรงแรมขนาดเล็ก โฮสเทล และอาคารพาณิชย์ โดยสามารถรองรับขนาดแอมป์เฟรมได้หลากหลาย ตั้งแต่ 100/160/250/400/630A และมีกระแสลัดวงจรตั้งแต่ 25kA ไปจนถึง 50 kA เลยทีเดียว
EasyPact EZS เรียกได้ว่าเป็นเบรกเกอร์ MCCB ที่มีให้เลือกใช้อย่างครอบคลุม โดยมี 3 Frame size คือ
Frame 100A (แบบ 3P ขนาด WxHxD (mm) 75 x 130 x 60)
Frame 160-250A (แบบ 3P ขนาด WxHxD (mm) = 105 x 161 x 86)
Frame 400-630A (แบบ 3P ขนาด WxHxD (mm) = 140 x 255 x 110)
และรองรับขนาดกระแสตั้งแต่ 16-600A รวมถึงมีกระแสลัดวงจร 25-50 kA (25/30kA สำหรับรุ่น เฟรม 100A, 25/36 kA สำหรับรุ่นเฟรม 160-250A และ 36/50 kA สำหรับรุ่น เฟรม400A ขึ้นไป) และสำหรับการใช้งานในแต่ละรุ่น ลูกค้าควรเลือกซื้อรุ่นที่เหมาะกับกำลังไฟและการใช้งานในบ้านหรือโรงงานนั้นๆ ติดต่อเราเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและสั่งซื้อได้ที่ www.se.com ได้แล้ววันนี้
ติดตามเรื่องราวดีๆ จาก ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้ที่
เว็บไซต์: www.se.com
Facebook: Schneider Electric
Instagram: schneiderelectric_th
LinkedIn: Schneider Electric
Lazada: Schneider Electric
Shopee: Schneider Electric official
LINE Official: ชไนเดอร์ อิเล็คทริค
Comments
Post a Comment