สตาร์ทมอเตอร์ แบบ Star Delta และแบบ DOL มีข้อดีข้อเสียอย่างไร

 

สตาร์ทมอเตอร์ อุปกรณ์สำคัญของการทำงานด้านอุตสาหกรรมที่ใช้ในการขับเคลื่อนของพลังงานไฟฟ้าในแบตเตอรี่ โดยจะมีการเปลี่ยนพลังงานเชิงกลเพื่อขับกลไกให้เกิดการหมุนเครื่องยนต์ ซึ่งระบบการมอเตอร์สตาร์ทเตอร์นั้นมีหลายแบบ และมีลักษณะการทำงานที่แตกต่างกัน ซึ่งก่อนที่จะตัดสินใจติดตั้งระบบการทำงานนี้ แนะนำว่าควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Motor starter ก่อนจะดีที่สุด

ความสำคัญของการสตาร์ทมอเตอร์

สำหรับสตาร์ทมอเตอร์นั้นเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการเริ่มต้น และหยุดการทำงานให้กับมอเตอร์ไฟฟ้า โดยหน้าที่หลักไม่เพียงแค่สตาร์ทตัวมอเตอร์เท่านั้น แต่ยังช่วยควบคุมและป้องกันมอเตอร์จากการเกิดกระแสไฟฟ้าขาดหรือเกินได้อีกด้วย ทั้งนี้ยังป้องกันความเสียหายในกรณีของการเกิดโอเวอร์โหลด เพื่อดึงศักยภาพสูงสุดให้กับการทำงานของมอเตอร์ 

Motor Starter แบบสตาร์ดัลตา (Star Delta)

อย่างไรก็ตาม Motor Starter นั้นมีอยู่หลายรูปแบบด้วยกันแต่ที่พบเห็นโดยทั่วไปจะมีอยู่สองรูปแบบด้วยกันคือ Star Delta เป็นวิธีที่ใช้การต่อไฟโดยให้มอเตอร์เริ่มสตาร์ทแบบสตาร์ก่อนแล้วจะเข้าสู่ดัลตา ทำให้เกิดการลดการกินปริมาณกระแสไฟฟ้าลงได้ แต่การสตาร์ทมอเตอร์ด้วยวิธีนี้ก็มีข้อดีข้อเสียที่น่าพิจารณาอยู่ด้วย 

ข้อดีและข้อเสียของการสตาร์ทแบบสตาร์ดัลตา

ในส่วนของข้อดีนั้นการสตาร์ทมอเตอร์แบบ Star Delta จะช่วยลดการกินปริมาณของกระแสไฟฟ้าได้หลายเท่าตัว แน่นอนค่าไฟก็จะลดจำนวนลงด้วย แต่ข้อเสียของการสตาร์ทแบบนี้ก็มีให้เห็นเช่นเดียวกัน คือในช่วงของการสตาร์ทเมื่อมีการลดกระแสไฟลง ค่าแรงบิดของมอเตอร์ก็จะลดลงไปด้วย ทำให้หลายครั้งมอเตอร์ไม่สามารถสตาร์ทได้นั่นเอง

 

Motor Starter แบบ DOL (Direct-On-Line)

อีกหนึ่งรูปแบบของ Motor Starter โดยวิธีนี้จะเป็นการต่อสายไฟ 3 เฟสเข้าสู่มอเตอร์โดยตรง เพื่อให้เกิดความเสถียรสูงสุดในการสตาร์ท ซึ่งการสตาร์ทรูปแบบนี้ได้รับความนิยมในอุตสาหกรรมการผลิตที่ต้องการความเสถียร และเน้นประสิทธิภาพของการทำงานจากมอเตอร์ที่สมบูรณ์แบบ 

ข้อดีและข้อเสียของการสตาร์ทแบบ DOL

สำหรับข้อดีของการสตาร์มแบบ DOL คือกระแสไฟจะเข้าสู่มอเตอร์โดยตรง ทำให้ได้แรงบิดที่ตรงกับการใช้งานรวมทั้งการทำงานของมอเตอร์ที่ปล่อยกระแสไฟฟ้าได้ต่อเนื่อง ทั้งนี้ข้อเสียของการสตาร์ทแบบนี้คือช่วงแรกของการสตาร์ท มอเตอร์จะกินไฟฟ้าสูงมาก และทำให้ค่าไฟสูงรวมทั้งยังอาจมีผลต่อการกระชาก และแรงดันที่มากเกินไปได้ 

ทำไมต้องใช้วงจรสตาร์ทมอเตอร์แบบ สตาร์ เดลต้า Star Delta? และขนาดพิกัดมอเตอร์ที่เหมาะสม?

เรียกได้ว่าวงจรของการสตาร์ทมอเตอร์ทั้งสองแบบนั้นก็มีความแตกต่างกันไม่น้อยเลย อีกทั้งข้อดีข้อเสียก็ยังมีมาให้พิจารณากันด้วย ทั้งนี้การสตาร์ทแบบ Star Delta ดูจะมีความปลอดภัย และให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า เพราะนอกจากจะประหยัดพลังงานแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงของกระแสไฟเกิน หรือไฟกระชากได้ด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเสถียรในการทำงานสูงสุด การเลือกขนาดพิกัดมอเตอร์ก็จำเป็นที่จะต้องมีความเหมาะสมร่วมด้วย โดยการสตาร์ทแบบสตาร์-เดลต้า เหมาะกับมอเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีพิกัดเกิน 7.5 KW ซึ่งจะมากการใช้กับวิธีสตาร์ทแบบต่อตรง

เลือกซื้ออุปกรณ์ควบคุมมอเตอร์ ที่ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค

เมื่อทราบแล้วว่าจะเลือกใช้มอเตอร์แบบไหน พิกัดเท่าไร และต้องการเลือกวงจรสตาร์ทมอเตอร์ได้อย่างที่ต้องการแล้ว สิ่งสำคัญอีกประการก็คือการเลือกซื้ออุปกรณ์ควบคุมมอเตอร์ที่มีความน่าเชื่อถือ ปลอดภัย และมีมาตรฐานการในวงการอุตสาหกรรมระดับโลก อย่างเช่นที่ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค โดยอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อวงจรควบคุมมอเตอร์มีดังนี้

Overload Relays

อุปกรณ์ที่คอยป้องกันกำลังไฟฟ้าเข้าสู่ตัวอุปกรณ์เกินกำลัง รวมทั้งยังเป็นตัวที่ช่วยป้องกันมอเตอร์ไม่ให้เกิดความเสียหาย กรณีที่มีกระแสไฟฟ้าไหลเข้ามาเกินพิกัดของโหลด ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการใช้งานให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด 

Safety Switch

อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการเปิด-ปิดวงจรไฟฟ้า มีส่วนสำคัญต่อการป้องกันกระแสไฟฟ้าเกิน กระชาก โดยนิยมติดตั้งทั้งในโรงงานอุตสาหกรรม และอาคารต่างๆ ซึ่งไม่เพียงแค่ตัวอาคารเท่านั้น แต่ยังติดตั้งเพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินสำหรับเครื่องจักรที่ต้องทำงานตลอดเวลาได้ด้วย

Electronic Relays

สำหรับชิ้นนี้เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในวงจรควบคุมอัตโนมัติ ซึ่งจะใช้เพื่อเปิดและปิดอุปกรณ์ได้โดยผ่านแม่เหล็กไฟฟ้า เมื่อติดตั้งในวงจรควบคุมมอเตอร์ที่มีพิกัดกำลังสูงจะช่วยให้เกิดความปลอดภัย และกำลังไฟที่เสถียรมากขึ้น

Circuit Breakers

สวิตช์ไฟฟ้าแบบอัตโนมัติที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรและป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายจากความผิดพลาดของกระแสไฟฟ้า โดยเซอร์กิตเบรกเกอร์จะคอยตัดกระแสไฟฟ้าหลังพบความผิดปกติทันที 

Contactors

ปิดท้ายด้วยอุปกรณ์ที่ตัดต่อวงจรไฟฟ้าเพื่อเปิดและปิด โดยมีหน้าสัมผัสในการตัดต่อวงจรไฟฟ้า ซึ่งการใช้งานสามารถใช้กับทั้งมอเตอร์ควบคุมปั๊มน้ำ ไปจนถึงระบบเครื่องจักรขนาดใหญ่ในโรงงาน  

เรียกได้ว่าวงจร สตาร์ทมอเตอร์ ก็มีขั้นตอน และรูปแบบที่ซับซ้อนอยู่พอสมควรเลยทีเดียว ทั้งนี้เมื่อทำความเข้าใจ และรู้จักการเลือกซื้ออุปกรณ์แต่ละชิ้นก็ยิ่งเพิ่มความมั่นใจในการใช้งานและการติดตั้งได้มากขึ้น โดยใครที่สนใจสามารถติดต่อสอบถาม หรือดูรายละเอียดสินค้าเพิ่มเติมได้ที่ www.se.com


ติดตามเรื่องราวดีๆ จาก ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้ที่

เว็บไซต์: www.se.com

Facebook: Schneider Electric

Instagram: schneiderelectric_th

LinkedIn: Schneider Electric

Lazada: Schneider Electric

shopee: Schneider Electric official




Comments

Popular posts from this blog

ตู้ RMU หรือ Ring Main Unit คืออะไร?

โซลินอยด์วาล์ว อุปกรณ์สำคัญในระบบควบคุมการไหลของของเหลวและก๊าซ

ไทม์มิ่งพูลเล่ย์ (มู่เลย์) สายพานคืออะไร? มีกี่ประเภท?