เตรียมตัวอย่างไร เมื่อ ไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ในปี 2024 อย่างเต็มรูปแบบ
เตรียมตัวอย่างไร เมื่อ ไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ในปี 2024 อย่างเต็มรูปแบบ
ปี 2024 เป็นปีที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) อย่างเต็มรูปแบบ จากสถิติพบว่าประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันจำนวนประชากรวัยทำงานลดลง และเด็กเกิดใหม่น้อยเนื่องด้วยพฤติกรรม ความเป็นอยู่และ สภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้คนรุ่นใหม่แต่งงานช้าลง เรียนสูงขึ้น ชาย และหญิงมีค่านิยมอยู่เป็นโสดมากขึ้น
ผู้สูงอายุในอนาคตเสี่ยงไร้คนดูแล การเตรียมความพร้อมในด้านการเงินเพื่อรองรับชีวิตหลังเกษียณจึงเป็นสิ่งสำคัญ หนึ่งในทางเลือกที่ได้รับความสนใจอย่างมาก คือ การทำประกันบำนาญ หรือ ประกันเกษียณ บทความนี้จะพาคุณไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับสังคมผู้สูงอายุในประเทศไทย การเตรียมตัวรับมือเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และทำไม ประกันบำนาญ ถึงเป็นหนึ่งในทางเลือกที่ดีสำหรับชีวิตหลังเกษียณ
สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) คือ
สังคมผู้สูงอายุ หมายถึงสังคมที่มีประชากรผู้สูงอายุในสัดส่วนที่มากกว่าประชากรทั้งหมด โดยทั่วไปการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเริ่มต้นเมื่อมีประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด หรือประชากรที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 7 ของประชากรทั้งหมด โดยปี 2566 ข้อมูลจากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย พบว่า ไทยมีประชากรผู้สูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไป คิดเป็น 1 ใน 5 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ หรือประมาณ 13 ล้านคน ของประชากรไทยทั้งประเทศ 66,057,967 คน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปีถัดไป เพราะฉะนั้นการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุจึงมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะในเรื่องการเงิน เพราะเมื่อเราเข้าสู่วัยเกษียณแล้วรายได้หลักของเราที่ได้ในวัยทำงานจะหายไป
เกษียณเรื่องใกล้ตัวที่เลี่ยงไม่ได้
การเกษียณเป็นช่วงเวลาที่ทุกคนต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้ว่าอาจดูเหมือนเป็นเรื่องที่ห่างไกลสำหรับบางคน แต่ความจริงแล้วการเกษียณเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เราควรเริ่มวางแผนตั้งแต่วันนี้ การไม่มีรายได้จากการทำงานเมื่อเข้าสู่วัยเกษียณอาจสร้างความกังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ดังนั้น การวางแผนทางการเงินอย่างรอบคอบ เช่น การทำประกันชีวิตแบบบำนาญ หรือ ประกันเกษียณอายุ จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะประกันบำนาญ นับเป็นหลักประกันที่ช่วยให้มั่นใจได้ว่าเราจะมีรายได้ประจำอย่างต่อเนื่องในช่วงหลังเกษียณ โดยไม่ต้องพึ่งพาลูกหลาน หรือผู้อื่น
เตรียมความพร้อมรับมือก่อนเข้าสู่วัยเกษียณ ด้วย ประกันบำนาญ
เตรียมความพร้อมรับมือก่อนเข้าสู่วัยเกษียณ ด้วยการทำประกันบำนาญ แผนประกันชีวิตที่ออกแบบมาเพื่อให้ผู้เอาประกันได้รับเงินตอบแทนในรูปแบบรายปีเมื่อถึงอายุเกษียณ โดยทั่วไปแล้ว ประกันบำนาญจะช่วยให้ผู้เอาประกันได้รับรายได้ที่สม่ำเสมอในช่วงวัยเกษียณ ช่วยแบ่งเบาภาระด้านการเงิน ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จำเป็นในการดำเนินชีวิต
รูปแบบการทำงานของประกันบำนาญคือ ผู้เอาประกันจะจ่ายเบี้ยประกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง เมื่อครบกำหนดตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ (เช่น อายุเกษียณที่กำหนดไว้) บริษัทประกันจะเริ่มจ่ายเงินให้ผู้เอาประกันในรูปแบบรายปีหรือรายเดือน จนถึงสิ้นสุดอายุกรมธรรม์หรือตามเงื่อนไขที่กำหนด ข้อดีคือ ช่วยให้ผู้เอาประกันมั่นใจได้ว่าจะมีรายได้แน่นอนในช่วงที่ไม่ได้ทำงานแล้ว นอกจากนี้ ยังสามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งของแผนลดหย่อนภาษีในช่วงที่เรายังทำงานอยู่ได้อีกด้วย
ทำประกันบำนาญไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ ดีอย่างไร
การทำประกันบำนาญตั้งแต่เนิ่นๆ เป็นการเตรียมตัวที่ชาญฉลาดสำหรับอนาคต โดยมีข้อดีหลายประการที่ทำให้คุณสามารถวางแผนทางการเงินได้อย่างมั่นคงและปลอดภัย ดังนี้:
เพิ่มระยะเวลาการออม: เมื่อคุณเริ่มต้นทำประกันบำนาญเร็วขึ้น คุณจะมีเวลามากขึ้นในการสะสมทุน และสามารถวางแผนการออมได้อย่างต่อเนื่อง เป็นการช่วยให้คุณมีเงินเพียงพอสำหรับใช้จ่ายหลังเกษียณโดยไม่ต้องกังวลเรื่องรายได้
สร้างความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว: การทำประกันบำนาญช่วยให้คุณมีรายได้ประจำเมื่อถึงวัยเกษียณ โดยไม่ต้องพึ่งพารายได้จากการทำงาน ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงทางการเงินในอนาคต และทำให้คุณสามารถดำเนินชีวิตหลังเกษียณได้อย่างมั่นคง
สิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษี: ในประเทศไทย การทำประกันบำนาญสามารถใช้สิทธิ์ในการลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งถือเป็นข้อดีเพิ่มเติมในการจัดการภาระทางการเงินประจำปี ทำให้คุณสามารถเก็บออมได้มากขึ้น และลดภาระภาษีในช่วงที่ทำงานอยู่
สร้างนิสัยการมีวินัยในการออม
การวางแผนเริ่มทำประกันบำนาญตั้งแต่เนิ่นๆ ตอนที่เริ่มทำงาน อายุยังน้อย จะช่วยในการบริการจัดการรายได้ และสามารถกำหนดแผนการใช้จ่ายในแต่จะปีอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างวินัยการออมเงินอย่างต่อเนื่องจนเป็นนิสัย
ประกันบำนาญ เปรียบเทียบกับการลงทุน แบบไหนตอบโจทย์ชีวิตหลังเกษียณ
หลายคนอาจสงสัยว่าประกันบำนาญ เปรียบเทียบกับการลงทุน แบบไหนตอบโจทย์ชีวิตหลังเกษียณมากกว่ากัน ซึ่งจริงๆ แล้วทั้งสองวิธีมีข้อดีและข้อเสีย แตกต่างกัน
ในส่วนของประกันบำนาญจะมอบรายได้ที่แน่นอน แบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในช่วงหลังเกษียณ ขณะที่การลงทุนสามารถสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่า แต่ก็ตามมาด้วยความเสี่ยงที่มากกว่า การเลือกใช้ประกันบำนาญหรือการลงทุนจึงขึ้นอยู่กับความต้องการและความสามารถในการรับความเสี่ยงของแต่ละบุคคล หากคุณต้องการความมั่นคงและรายได้ที่แน่นอน ประกันบำนาญอาจเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมมากกว่า
ประกันบำนาญ จาก อลิอันซ์ อยุธยา แผนประกันที่ตอบโจทย์ชีวิตหลังเกษียณ
สำหรับใครที่กำลังมองหาประกันบำนาญ หนึ่งในแผนประกันที่ได้รับความนิยมในประเทศไทยคือประกันบำนาญ หรือประกันเกษียณ จาก อลิอันซ์ อยุธยา ที่ให้ความคุ้มครองและความมั่นคงในช่วงหลังเกษียณ มีหลายแผนให้เลือกตามความต้องการและความสามารถทางการเงินของแต่ละคน ดังนี้
มาย บำนาญ ไฟว์ A90/5
มาย บำนาญ ไฟว์ A90/5: แผนประกันบำนาญที่ใช่สำหรับคนทำงานวัย 40+ ออมระยะสั้นเพียง 5 ปี รับเงินบำนาญทุกปี ปีละ 10% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย ตั้งแต่อายุ 60 ถึง 90 ปี และยังสามารถนำเบี้ยประกันภัยไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 300,000 บาทต่อปี นาน 5 ปี ตามกฎเกณฑ์ของกรมสรรพากร
มาย บำนาญ พลัส
มาย บำนาญ พลัส: แผนประกันนี้ให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุม และสามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้สูงสุด 300,000 บาท สามารถทำได้ตั้งแต่อายุ 25-50 ปี ผลตอบแทน ปีละ 10% ของจำนวนเงินเอาประกันภัยทุกปี ตั้งแต่อายุ 55 ปี ถึงอายุ 85 ปี
การทำประกันบำนาญ หรือประกันเกษียณ กับ อลิอันซ์ อยุธยา ไม่เพียงแต่ช่วยให้คุณมีเงินออมไว้ใช้ในอนาคต แต่ยังเป็นการลงทุนที่มั่นคง และมีประสิทธิภาพในการวางแผนเกษียณอย่างรอบคอบ หากสนใจสามารถศึกษารายละเอียดกรมธรรม์เพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.allianz.co.th หรือติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อรับคำปรึกษาที่ศูนย์บริการลูกค้า อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต โทร 1373 หากสนใจ ประกันสุขภาพ ประกันภัยรถยนต์ ประกันภัยบ้านและที่อยู่อาศัย เพิ่มเติม สามารถติดต่อ ศูนย์บริการลูกค้า อลิอันซ์ อยุธยา ประกันภัย โทร 1292 ตลอด 24 ชั่วโมง
ติดตามเรื่องราวดี ๆ จาก อลิอันซ์ อยุธยา ได้ที่
เว็บไซต์: www.allianz.co.th
Facebook: Allianz Ayudhya
Twitter: Allianz Ayudhya
Youtube: อลิอันซ์ อยุธยา Allianz Ayudhya
Tiktok: allianz_ayudhya
Comments
Post a Comment